วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แนวข้อสอบปลายภาค ปวช.3

แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 3 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา เครื่องปรับอากาศ

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด ข้อ 15 คะแนน
บรรยาย
            การทำสุญญากาศ 2 ข้อ
            การบรรจุสารทำความเย็น 2 ข้อ
            การทำความสะอาดคอยด์ร้อน 1 ข้อ




แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 3 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา การโปรแกรมและควบคุมไฟฟ้า


เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด ข้อ 15 คะแนน
บรรยาย
            คำสั่ง ladder 1 ข้อ
            แปลง ladder ให้อยู่ในรูปภาษาบูลีน 1 ข้อ
            แปลงภาษาบูลีน ให้อยู่ในรูป ladder 1 ข้อ
            สัญลักษณ์นิวเมติกส์ 1 ข้อ
            วงจรของระบบนิวเมติกส์ 1 ข้อ




แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 3 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา เครื่องวัดอุตสาหกรรมและควบคุมเบื้องต้น

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด ข้อ 15 คะแนน
บรรยาย
            การวัดระดับ 2 ข้อ
            ระบบสัญญาณมาตรฐาน 1 ข้อ
            Sensor  2 ข้อ


ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบ



แนวข้อสอบปลายภาค ปวช.2

แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 2 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา เครื่องปรับอากาศ

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด 5 ข้อ 15 คะแนน
บรรยาย
            การทำสุญญากาศ 2 ข้อ
            การบรรจุสารทำความเย็น 2 ข้อ
            การทำความสะอาดคอยด์ร้อน 1 ข้อ





 แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 2 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด ข้อ 15 คะแนน
เขียนวงจร
            การกลับทางหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 1 ข้อ
            การกลับทางหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส 1 ข้อ
            การกลับทางหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 1 ข้อ
            การสตาร์มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบ DOL 1 ข้อ
            การสตาร์มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบ Star-Delta 1 ข้อ





แนวข้อสอบปลายภาค
 ปวช. 2 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด 5 ข้อ 15 คะแนน
            การขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ บรรยาย 1 ข้อ
            การสูญเสียในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ บรรรยาย 2 ข้อ คำนวณ 1 ข้อ
            การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ บรยาย 1 ข้อ


หมายเหตุ อนุญาตให้จดเข้าไปได้ 1 กระดาษ A4 ไม่มีสูตรให้ดังนั้นจดเข้าไปเอง (เฉพาะวิชาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น)



ข้อให้ทุกคนโชคดีในการสอบ

แนวข้อสอบปลายภาค ปวช.1

แนวข้อสอบปลายภาค
ปวช. 1 ไฟฟ้ากำลังและ อิเล็กทรอนิกส์
วิชา วงจรไฟฟ้ากระแสตรง

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด 5 ข้อ 15 คะแนน
            เคอร์ชอฟฟ์
                        - บรรยาย 1 ข้อ
                        - คำนวณ 1 ข้อ มี 2 ลูป
            เมชเคอร์เรนท์
                        - คำนวณทั้งหมด 2 ข้อ ข้อแรกมี 2 ลูป ข้อสองมี 3 ลูป
            โนดโวลต์เตจ
                        - คำนวณ 1 ข้อ มี 2 โนด
หมายเหตุ อนุญาตให้จดเข้าไปได้ 1 กระดาษ A4 ไม่มีสูตรให้นะจ๊ จดเข้าไปเอง



แนวข้อสอบปลายภาค
 ปวช. 1 ไฟฟ้ากำลัง
วิชา หม้อแปลงไฟฟ้า

เป็นแบบอัตนัย ทั้งหมด 5 ข้อ 15 คะแนน
            การออกแบบหม้อแปลงขนาดเล็ก
                        - บรรยาย 1 ข้อ
                        - คำนวณ 3 ข้อ
            การหาค่าประสิทธิภายของหม้อแปลง
                        - คำนวณ 1 ข้อ

หมายเหตุ อนุญาตให้จดเข้าไปได้ 1 กระดาษ A4 ไม่มีสูตรและตารางเบอร์ลวดให้
                 ดังนั้นจดเข้าไปเองนะจ๊




ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบ

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Ohm's Law

กฎของโอห์ม

     Georg Simon Ohm นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทำการทดลองและพบว่า แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า มีความสัมพันธ์กัน


V=IR

V = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (Volt)
I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ ( Ampere)
R = ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm)

     ซึ่งการหาค่าต่างๆ สามารถย้ายข้างสมการได้ เช่น ถ้าต้องการหาค่ากระแสไฟฟ้า จะได้สูตรเป็น I=V/R หรือต้องการหาค่าความต้านทานไฟฟ้า จะได้สูตรเป็น R=V/I ซึ่งเป็นการย้ายข้างสมการ หากย้ายข้างไม่ชำนาญ สามารถเขียนได้ตามรูปด้านล่างนี้ 

  
     ถ้าต้องการหาค่าแรงดันไฟฟ้า ให้ปิดที่ V จะเหลือแค่ I กับ R ให้เขียนสูตรได้คือ V=IR
     ถ้าต้องการหาค่ากระแสไฟฟ้า ให้ปิดที่ I จะเหลือ V อยู่ด้านบน R อยู่ด้านล่าง เขียนสูตรได้คือ I=V/R
     ถ้าต้องการหาค่าความต้านทานไฟฟ้า ให้ปิดที่ R จะเหลือ V อยู่ด้านบน I อยู่ด้านล่าง เขียนสูตรได้คือ R=V/I


Resistor

ตัวต้านทาน ( Resistor)
     ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือ จำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้า ใช้อักษรย่อ คือ R มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm) สัญลักษณ์ Ω



สัญลักษณ์ตัวต้านทาน


การต่อตัวต้านทาน

1. แบบอนุกรม เป็นการต่อตัวต้านทานแบบลำดับกัน คือ ปลายชนต้น



การต่อแบบอนุกรม สังเกตุได้ว่าค่าของความต้านรวมจะเพิ่มขึ้น



2. แบบขนาน เป็นการต่อตัวต้านทานแบบคร่อมกัน คือ ต้นชนต้น ปลายชนปลาย

กรณีที่มีตัวต้านทานเพียง 2 ตัวในวงจรขนานกันสามารถใช้อีกสูตรได้


การต่อแบบขนาน สังเกตุได้ว่าค่าของความต้านรวมจะลดลงและมีค่าน้อยกว่าความต้านตัวที่น้อยที่สุดในวงจร เช่น ถ้าในวงจรมีตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดมีค่า 10 Ω ค่าความต้านทานรวมต้องมีค่าน้อยกว่า 10 Ω



3. แบบผสม เป็นการต่อตัวต้านทานทั้งแบบอนุกรมและขนานในวงจรเดียวกัน

แบบอนุกรมแล้วขนาน



แบบขนานแล้วอนุกรม





วิธีทำแบบทดสอบ
- เข้าไปที่ https://b.socrative.com/student/
- ใส่ชื่อห้อง RoomName : DCCIRCUIT
- ใช่ชื่อผู้เข้าใช้ ให้ใส่ชื่อ-นามสกุลของนักเรียน
- ทดลองทำแบบฝึกหัด (มี 10 ข้อ)
- เมื่อทำเสร็จให้กด FINISH QUIZ

Basic electric

ไฟฟ้า คือ ?

พลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ เช่น พลังงานกล, พลังงานแสง, พลังงานเสียง

พลังงานความร้อนไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300,000 km./sec.

ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1) ไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการเสียดสีกันของวัสดุต่างกัน 2 ชนิด เช่น ไม้ พลาสติก สักลาด
2) ไฟฟ้ากระแส คือ ไฟฟ้าที่ผลิตหรือสร้างขึ้นเองจากมนุษย์
       - ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC)
       - ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC)


คุณคิดว่าฟ้าผ่าแต่ละครั้งแรงดันเท่าไหร่ ?


องค์ประกอบทางไฟฟ้า
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่กำเนิดพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่, โซล่าเซลล์, Generator
 โซล่าเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น AC หรือ DC ?

2. ตัวนำทางไฟฟ้า (Conductor) คือ ตัวกลางทางไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ เช่น ทองแดง, อะลูมิเนียม, สังกะสี, ทองคำ, เหล็ก


 ตัวนำชนิดใดที่นำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด ?

3. โหลดทางไฟฟ้า (Load) คือ อุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
     - ความต้านทาน (R) เช่น หลอดไฟ, ฮีตเตอร์
 

     - ตัวเหนี่ยวนำ (L) เช่น มอเตอร์, หม้อแปลง, บัลลาท์


     - ตัวเก็บประจุ (C) เช่น สตาร์ทเตอร์